บทที่ 5 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

บทที่ 5  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

• ในหลายประเทศได้มีการกําหนดกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดง

   ความคิดเห็นของประชาชนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นประชาชนจึงสามารถ

   แสดงออกทางความคิดในลักษณะต่างๆได้อย่างอิสระ 

• การคุ้มครองในบางประเทศก็มีลักษณะแบบสมบูรณ์
 
เสรีภาพไม่ว่ากรณีใด 

• แต่ในบางประเทศ เช่น ประเทศไทย จะมีข้อยกเว้นว่าสามารถจํากัดเสรีภาพได้โดยใช้
 อํานาจของกฎหมาย

• แต่ยังมีบางประเทศ เช่น ประเทศจีน ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในแง่ของการจํากัด

  เสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็นของประชาชน 
 
คือ ไม่มีการลิดรอนหรือข้อจํากัด




กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

• กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ใน

   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวดที่ 3 “สิทธิและ

   เสรีภาพของชนชาวไทย” สงวนที่ 7 “สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความ

   คิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน” มีดังนี้

มาตรา 45  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเเสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน
การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

มาตรา 46  พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง
 วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและเเสดงความคิดภาย
 
ใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ

มาตรา 47 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์

มาตรา 48 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทนหรือดำเนินการโดยวิธีอื่นไม่ว่าด้วยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกันกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว

ความคิดเห็นที่กฏหมายไม่คุ้มครอง

1.  คำลามกอนาจาร
2.  คำใส่ร้ายป้ายสี
3.  คำยั่วยุให้เกิดความกลัว
4.  คำยั่วยุให้มีการก่ออาชญากรรม
5. คำดูถูกเหยียดหยาม
6.  คำปลุกปั่นก่อให้เกิดความไม่สงบ


ประเด็นด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
การปกปิดชื่อจริง  การแสดงความคิดเห็นโดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพประการหนึ่งที่พึงมี การปกปิดตัวตนที่แท้จริงได้ ทำให้เกิดการใช้สิทธิและเสรีภาพในด้านนี้เกินขอบเขต ขาดจริยธรรม หรือขาดความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายในการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบต่างๆอีกด้วย
การส่งอีเมล์นิรนาม  เป็นโปรแกรมที่จะทำการปลดที่อยู่อีเมล์จริงของผู้ส่งออก แล้วแทนที่ด้วยที่อยู่นิรนาม ที่อยุ่ปลอม หรือไม่มีที่อยู่ผู้ส่งไปยังผู้รับ การใช้ระบบส่งอีเมล์นิรนามในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนได้
การแสดงข้อความหมิ่นประมาท  เป็นการใส่ความผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เกียรติยศ และได้รับความเดือดร้อนโดยไม่มีหลักฐานยืนยัน การเเสดงความคิดเห็นใดๆ ก็พึงระวังให้การแสดงความเห็นไปโดยขอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน
การโพสต์แสดงความคิดเห็นพาดพิงถึงบุคคลอื่นบนเว็บไซต์โดยไม่ระวัง  อาจทำให้ได้รับความเดือดร้อนโดยไม่รู้ตัว อาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยไม่ทันตั้งตัวเนื่องจากโพสต์แสดงความคิดเห็นในลักษณะนี้ เช่น นาง ข ด่าผู้อื่นว่ารับสินบน รับส่วยใต้โต๊ะ ประพฤติตนไม่สุจริต เป็นต้น
ความคิดเห็นที่กฏหมายไม่คุ้มครอง





    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

ผลงานนักเรียน