บทที่ 6 ทรัพย์สินทางปัญญา

บทที่ 6 ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)  ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชานาญ โดยไม่คานึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่าง ๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดาเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น
 ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
 โดยทั่ว ๆ ไปคนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคาว่า ลิขสิทธิ์” และจะใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้ว ในทางสากลทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และลิขสิทธิ์ (Copyright)
1 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้ อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า รวมถึงแหล่งกาเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมจึงสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
1. สิทธิบัตร (Patent)
2. เครื่องหมายการค้า (Trademark)
3. ความลับทางการค้า (Trade Secret)
4. ชื่อทางการค้า (Trade Name)
5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)

 (1.1)  สิทธิบัตร (Patent)
 *หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility)
อาจแยกคำนิยาม สิทธิบัตร’ ได้เป็น 2 ความหมาย ดังนี้
*สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
*สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น
การประดิษฐ์ (Invention)
*การประดิษฐ์ คือ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม
*การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้
-ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้หรือแพร่หลายมาก่อนในประเทศ

-สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับจากวันยื่นคำขอสิทธิบัตร





การออกแบบผลิตภัณฑ์(Product Design)

*การออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม
*การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้
-ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม
-สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับจากวันยื่นคำขอสิทธิบัตร




เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้กับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น  เช่น  มาม่า  บรีส กระทิงแดง เป็นต้น 

 เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้กับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น การบินไทย ธนาคารกรุงไทย เซเว่น เป็นต้น 


เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้กับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม  มอก.  ฮาลาล เป็นต้น


 เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จากัด (มหาชน) เป็นต้น


   ( 1.3 ) ความลับทางการค้า (Trade Secret)

            ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันดดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมุบุคคล ซึ่งโดย
 ปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่นำไป
 ใช้ประโยชนืทางการค้าเนื้องจากการเป็นคามลับ และเป็นข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่
 ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้ มาตรการที่เหมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ
    '' ข้อมูลทางธุรกิจที่ยังไม่เปิดเผย ''
   -  ในกรณีที่ธุรกิจอาจมีความลับทางส่วนผสมทางการผลิต ก็อาจจดทะเบียนความลับ
      ทางการค้าก็ได้  โดยที่ธุรกิจจะไม่ยอมเปิดเผยสูตรให้ผู้ได เช่น
   -  ความลับในการผลิตเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่ง
   -  ความลับในการผลิตน้ำพริก
 -  ซึ่งผู้อื่นที่มิใช่เจ้าของความลับจะทราบคร่าวๆ เท่านั้นว่าส่วนผสมหลักคือ อะไรแต่ไม่
      ทราบรายละเอียดจริง

1.4 .ชื่อทางการค้า (Trade Name)*ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ โกดัก ฟูจิ เป็นต้น


      ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่นําไปใช้ประโยชน์ทางการค้าเนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้ มาตรการที่เหมาะสมรักษาไว้เป็นความลับ
ข้อมูลทางธุรกิจที่ยังไม่เปิดเผย
• ในกรณีที่ธุรกิจอาจมีความลับทางส่วนผสมทางการผลิต ก็อาจจดทะเบียนความลับทางการค้าก็ได้ โดยที่ธุรกิจจะไม่ยอมเปิดเผยสูตรให้ผู้ใด เช่น
 
    - ความลับในการผลิตเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่ง 
    - ความลับในการผลิตน้ําพริก

• ซึ่งผู้อื่นที่มิใช้เจ้าของความลับจะทราบคร่าวๆ เท่านั้นว่าส่วนผสมหลักคืออะไรแต่ไม่ทราบรายละเอียดจริง

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทน แทนแหล่งภูมิศาสตร์
นั้นเป็นสินค้าที่มี คุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ เป็นต้น

ลิขสิทธิ์ (Copyright) เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น "ทรัพย์สินทางปัญญา" ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินประเภทที่สามารถซื้อขาย หรือโอนสิทธิกันได้ทั้งทางมรดก หรือ โดยวิธีอื่นๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทําเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทําเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ 


งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
 
• งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์

• งานนาฏกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรํา การเต้น การทําท่า หรือ การแสดงที่ประกอบขึ้นเป็น เรื่องราว การแสดงโดยวิธีใบ้ 

• งานศิลปกรรม เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพ ประกอบแผนที่ โครงสร้าง ศิลปประยุกต์และรวมทั้งภาพถ่าย และแผนผังของงานดังกล่าวด้วย 

• งานดนตรีกรรม เช่น เนื้อร้อง ทํานอง และรวมถึงโน๊ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสาน

สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

• ข่าวประจําวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร 

• รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย 

• ประกาศ คําสั่ง ระเบียบ คําชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น 

• คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ 

• คําแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทําขึ้น

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน ซึ่งมีลักษณะการได้มา ดังนี้

– คุ้มครองทันทีที่ได้มีการสร้างสรรค์งานนั้น

– กรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผูมีสัญชาติไทยหรือมีสัญชาติ
ในประเทศที่เป็ภาคีแห่งอนุสัญญาภาคีอยู่ด้วย

– กรณีที่มีการโฆษณางานแล้ว ต้องเป็นการโฆษณาครั้งแรกได้ทําขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีฯ

– กรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทําการใดๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตน ดังต่อไปนี้
– มีสิทธิ์ในการทําซ้ํา ดัดแปลง จําหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบทําสําเนา

– การทําให้ปรากฏต้อสาธารณชนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตน โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้

อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์


• งานทั่วๆ ไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สรางสรรค์และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น

• งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอยู่50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น 

• กรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีศิลปประยุกต์ให้มีลิขสิทธิ์อยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก 

• ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใดๆ สามารถใช้งานนั้นๆ ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์


รูปแบบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

• การปลอมแปลง เป็นการผลิตที่มีการใช้วัสดุ รูปลักษณ์ ตราสินค้าที่เหมือนกับของเจ้าของทุกประการโดยที่ผู้ซื้ออาจแยกไม่ออกว่าเป็นของจริงหรือไม่ ดังที่เราพบเห็นกันในท้องตลาด เช่น การปลอมนาฬิกาโรเล็กซ์ เสื้อโปโล กระเป๋าหลุยส์ วิตตองสินค้าของ Dior เป็นต้น

• การลอกเลียนแบบ โดยที่ตัวสินค้ามีรูปร่างหน้าตาเหมือนสินค้าของเจ้าของผู้ผลิตแต่มีการปรับเครื่องหมายการค้าเล็กน้อย เช่น PRADA เป็น PRADO , Sony เป็นSomy เป็นต้น
• การลักลอบผลิต คือ การลักลอบผลิต เทปผี ซีดีเถื่อน ซึ่งเราได้พบเห็นข่าวการลักลอบผลิตอยู่เป็นประจํา เช่น ซีดีภาพยนตร์เรื่องต้มยํากุ้งที่เคยเป็นข่าวมาแล้ว 

• สําหรับการละเมิดลิขสิทธิ์โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางด้านซอฟตแวร์ (Software Piracy)
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

ผลงานนักเรียน