อุปกรณ์ของมืออาชีพ



อุปกรณ์ของมืออาชีพ

จากที่ได้กล่าวไปแล้วในช่วงแรกเกี่ยวกับอุปกรณ์พื้นฐาน เพื่อสร้างการเชื่อมโยงของเครือข่าย สำหรับหน่วยงานและองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากตั้งแต่ 50-100 เครื่อง ที่ต้องเชื่อมต่อเข้าหากัน จะต้องมีอุปกรณ์ที่มีความเร็วและความสามารถสูงในการทำงาน เช่น Bridge, Switch, Switching Hub และ Router ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีการทำงานที่ซับซ้อนและราคาสูง ต้องใช้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในการเซตอัพและปรับแต่งการทำงาน




บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่การทำงานคล้ายๆ กับตัวทวนสัญญาณ (Repeater) โดยจะขยายสัญญาณให้มีระดับความแรงเพื่อส่งต่อไป แต่มีหน้าที่หลักคือเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมต่อเครื่อข่ายต่างระบบกัน เช่น ในหน่วยงานมีระบบเครือข่ายแรกเป็นแบบ Ethernet และมีระบบเครือข่ายที่สองเป็นแบบ Token-Ring ดังรูปที่ 2.17 จะเห็นว่าใช้บริดจ์เป็นสะพานในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายทั้งสอง (บริดจ์ จะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อจำนวน 2-4 พอร์ต คือ พอร์ต A , B, C, D)










นอกจากนี้บริดจ์ยังมีความสามารถในการตรวจสอบ Packet หรือ Frame ที่รับ-ส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ เพื่อส่งข้อมูลไปยังอีกฟากหนึ่งของเครือข่าย โดยที่บริดจ์จะเก็บรวบรวมหมายเลข MAC (Media Access Control) Address ของการ์ดเน็ตเวิร์กที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเอาไว้ในตารางของบริดจ์เรียกว่า SAT (Source address Table) เพื่อจะได้ทราบว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่เซ็กเมนต์ใดบ้าง




สวิตช์ (Swith) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่รวมความสามารถของฮับและบริดจ์เข้าไว้ภายใน ตามปกติแล้วเครือข่ายของ Ethernet ไม่สามารถส่งข้อมูลพร้อมกันหลายเครื่องได้ จะต้องสลับกันส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมต่ออยู่บนโดเมนปะทะ (Collision Domain) กล่าวคือ ถ้าเกิดมีการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องบนระบบฯก็จะมีการกกระจายข่าวสารออกไปให้ทั้งเครือข่ายทราบ และเครื่องอื่นไม่สามารถจะรับ-ส่งข้อมูลได้ จนกว่าเครื่องทั้ง 2 จะรับ-ส่งข้อมูลกันเสร็จเรียบร้อย แต่สวิตซ์ทำให้สามารถจะส่งข้อมูลออกไปพร้อมๆ กันได้หลายเครื่องด้วยความเร็วสูงกว่า










การทำงานพื้นฐาน ถ้ามีการส่งข้อมูลจากเครื่องใดเครื่องหนึ่งบนเครือข่าย สวิตซ์จะจัดการส่งข้อมูลไปยังเครื่องนั้นโดยตรง ไม่มีการกกระจายข้อมูลไปยังทุกเครื่องเพื่อให้เครื่องที่มี MAC Address ตรงกันรับไปเป็นการลดปริมาณข้อมูลทีวิ่งอยู่บนเครือข่ายอีกด้วย










ขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ จากรูปที่ 2.19 มีดังนี้

1. เครื่องเซิร์ฟเวอร์ D ต้องการจะส่งข้อมูลให้เครื่อง F ก็จะตรวจสอบช่องสัญญาณว่าว่างหรือเปล่าแล้วส่งข้อมูลไปยังเครื่อง F ผ่านตัวสวิตซ์




2. ทำให้สวิตซ์ได้รับข้อมูลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ D จากนั้นจะสร้างวงจรเสมือน หรือ Virtual Circuit ระหว่างเครื่อง D และ เครื่อง Fขึ้นมา เพื่อให้ทั้งสองเครื่องติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง (และช่องสัญญาณจะว่าง)




3. ถ้าหากเครื่อง C จะส่งข้อมูลให้เครื่อง A บ้าง ก็จะตรวจสอบช่องสัญญาณ ซึ่งจะว่างอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว จากนั้นจะส่งข้อมูลผ่านสวิตซ์ไปยังเครื่อง A อุปกรณ์สวิตซ์จะสร้างวงจรเสมือนระหว่างทั้งสองเครื่องเพื่อให้ส่งข้อมูลกันโดยตรงเช่นกัน




เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายๆ แบบเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการทำงานสูงกว่าสวิตซ์ ขั้นตอนในการเซตอัพก็ยากกว่า เราท์เตอร์สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้สายเคเบิ้ลต่างกัน แต่มีโปรโตคอลเหมือนกันได้ เช่น เครือข่ายหนึ่งใช้สาย Coaxial แต่อีกเครือข่ายใช้สาย UTP เราท์เตอร์มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น ระหว่างจังหวัด, ภูมิภาค, ประเทศหรือทวีป โดยผ่ายเซอร์วิสของ WAN, ATM, ISDN,X25










Share on Google Plus

About kruanuruk

ครูอนุรักษ์ ลาวิลาศ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอำนาจเจริญ เว็บไซต์เพื่อการศึกษาครูอนุรักษ์ www.thaiamnat.com Line ID : thaiamnat.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

ผลงานนักเรียน